Monthly Archives: October 2015

5 อันดับละครยอดนิยมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

โรงละครที่ให้ความบันเทิงแก่ผู้ชมมาตั้งแต่ออดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นศิลปะที่ต้องใช้ความสามารถของนักแสดงและผู้กำกับ ซึ่งมีละครที่ได้รับความนิยมนั่นคือ The Phantom of the opera และ Les Miserables  สุดยอดละครเวทีตลอดการยาวนานมากกว่า 2 ทศวรรษการันตีจากการแสดงมากกว่า 10,000 รอบบนบรอดเวย์และคณะทัวร์ทุกมุมโลก นอกจากนี้ยังมีอีกหลากหลายเรื่องที่ได้รับการจัด 5 อันดับจากผู้ชม มีดังนี้

อันดับที่ 1 The Lion King ​Musical สุดยอดละครเวทีโปรดักชั่นจากดิสนีย์ สร้างจากการ์ตูนที่ประทับใจคนดูทั่วโลก เล่าเรื่องบนเวทีได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน เรื่องราวของผาทรนงและเจ้าป่าน้อยซิมบ้า ทำให้ไลออนคิงส์ประสบความสำเร็จด้วยการไปทัวร์ทุกมุมโลก

อันดับที่ 2   Jersey Boys เจ้าของรางวัลโทนี่อวอร์ดปี 2006  เรื่องราวของการเดินทางจากเด็กน้อยไปสู่ซุปเปอร์สตาร์ร้อยเรียงผ่าน 30 บทเพลงป๊อปชื่อดังอย่าง “Sherry,” “Big Girls Don’t Cry”  “Can’t Take My Eyes Off You.

อันดับที่ 3  Once Musical สร้างจากภาพยนตร์ดังปี 2007 เป็นม้ามืดของมิวสิคัลบอร์ดเวย์เพราะเล่าเรื่องโดยไม่เน้นเทคนิคตระการตราแต่ใช้บทเพลงที่ไพเราะทันสมัย เรื่องราวของมิตรภาพระหว่างวัยรุ่น ความรัก และดนตรี

อันดับที่ 4 Wicked  ละครเพลงที่มีเพลงเพราะและเทคนิคแสงสีเสียงดีที่สุด เปิดแสดงทั่วทุกมุมโลกเรื่องราวก่อนเริ่มต้นThe Wizard of Oz’s เอ่ยถึงจุดกำเนิดของแอลฟี่แม่มดตัวเขียวและพลังวิเศษ เพลงเอก Defying Gravity และ For Good

อันดับ 5 Evita ติดอันดับละครเวทีตลอดกาลของบอร์ดเวย์ไปแล้ว จากบทละครเพลงสุดยอดของพ่อมดแห่งวงการ แอนดรูว์ ลอยด์ เว็บเบอร์ Evitar ที่มีเพลงนำละครที่โด่งดัง Don’t Cry For Me Argentina.  เรื่องราวของ Eva Peron ภรรยาคนที่สองของ Juan Perón ประธานาธิบดีอาร์เจนติน่า ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ของสตรีอันดับหนึ่งแห่งอาร์เจนติน่า สร้างเป็นภาพยนตร์นำแสดงโดยมาดอนน่า ในปี 1996

ถึงแม้ละครเวทีจะนับเรื่องราวเดิมๆมาแสดงซ้ำหลายรอบ แต่ก็ยังมีผู้ชมให้ความสนใจ เพราะแสงสีเสียงที่ดึงดูดใจผู้ชม อีกทั้งในปัจจุบันมีเทคนิคต่างๆมากมายที่ถูกนำมาใช้ในการทำละครเวที

การจะทำละครเวทีนั้น ผู้กำกับเวทีเป็นบุคคลที่ขาดไม่ได้

การที่จะแสดงละครได้นั้น ผู้แสดงต้องมีการฝึกซ้อมรับส่งบทกับตัวละครอื่นๆ เพื่อให้รู้ปฏิกิริยาท่าทาง และสีหน้าของฝ่ายตรงข้าม แม้ว่าตัวละครที่เป็นตัวประกอบจะไม่มีบทพูดแต่ก็ต้องแสดงบุคลิกลักษณะให้สมบทบาทตามเนื้อเรื่อง นอกจากนักแสดงที่มีบทความสำคัญแล้วยังมีหัวใจหลักที่สำคัญในการทำละครอีกก็คือ ผู้กำกับเวทีนั่นเอง

ผู้กำกับละครเวที ถ้าจะเปรียบเทียบการจัดแสดงละครเหมือนครอบครัวใหญ่ ๆ ผู้กำกับเวทีเปรียบได้กับแม่บ้านที่มีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของทุกคนและดำเนินการทุกอย่างเพื่อให้งานของทุกฝ่ายบรรลุผลตามเป้าหมาย ผู้กำกับเวทีเปรียบเสมือนแขนขวาของผู้กำกับการแสดง มีหน้าที่ช่วยเหลืองานทุกด้านเพื่อให้ผู้กำกับการแสดงไม่ต้องห่วงกังวล และสามารถทุ่มเทกำลังความสามารถให้กับการสร้างสรรค์งานศิลปะอย่างเต็มที่ สำหรับหน้าที่ของผู้กำกับ มีดังนี้

1.ประสานงานทุกฝ่าย เพื่อให้ละครมีความเรียบร้อย เพื่อความสำเร็จลุล่วง

2.กำหนดการดำเนินงาน ระบุช่วงเวลาต่างๆ เพื่อให้ทุกอย่างเสร็จตามเวลาที่กำหนด

3.ผู้กำกับเวทีต้องสามารถตัดสินใจแก้ปัญหาไปเองแล้วรายงานให้ผู้กำกับการแสดงทราบ แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่แน่ใจ ก็ควรจะต้องปรึกษาผู้กำกับการแสดงและได้รับความเห็นชอบก่อนลงมือ

4.ขอความเห็นชอบจากผู้กำกับการแสดงโดยอาจจัดทำมาก่อนแล้วเสนอต่อผู้กำกับการแสดง ว่างานชิ้นนี้ผู้กำกับเห็นด้วยหรือไม่

5.ติดตามดูแลให้นักแสดงมาซ้อมตามวันเวลาที่กำหนดไว้ หากผู้ใดติดขัดหรือจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง ใด ๆ ต้องรายงานให้ผู้กำกับการแสดงทราบ

6.ต้องมาดูการซ้อมทุกครั้งแทนผู้กำกับ

7.จัดเตรียมสถานที่ ต้องเตรียมเวทีให้เหมาะสมสำหรับฉากนั้นก่อนที่ผู้กำกับการแสดงจะมาถึง

8.จดตำแหน่งของการเคลื่อนไหวของตัวละคร ตลอดจนแนวทางสำคัญของการแสดงที่ผู้กำกับการแสดงให้แก่ตัวละครลงในสมุดคู่มือการซ้อมทุกครั้งเพื่อเป็นเครื่องเตือนความจำ

9.เตือนนักแสดงที่ลืมบทระหว่างซ้อมโดยบอกเฉพาะคำต้นของประโยคที่ลืม

10.ควบคุมการปล่อยตัวละคร

11.ตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกอย่าง ดูแลความเรียบร้อยของทุกฝ่าย  ประสานงานกับฝ่ายต่างๆ เพื่อให้เกิดความพร้อม

12.คอยให้สัญญาณกับนักแสดง